หลักสูตร การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)

แนวความคิดดั้งเดิมเชื่อว่าความขัดแย้งเป็นผลร้ายต่อองค์กร และเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น ผู้บริหารเชื่อว่า ความขัดแย้งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าองค์กรมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว และถ้าหากสามารถแก้ไขได้แล้ว ความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้น องค์กรก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

แนวคิดปัจจุบัน เชื่อว่าความขัดแย้งในองค์กรเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพราะความขัดแย้งจะนำไปสู่การค้นหาผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพดีขึ้น

หัวข้อการอบรม

เวลา 09:00 - 12:00 น.
  • แนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง
    – แนวคิดดั้งเดิม และแนวคิดสมัยใหม่
    – แนวคิดเรื่องการบริหารความขัดแย้ง
  • สาเหตุของความขัดแย้ง
    – การสื่อสาร (Communication)
    – โครงสร้าง (Structure)
    – ตัวแปรส่วนบุคคล (Personal Variables)
  • ประเภทของความขัดแย้ง
    – ความขัดแย้งในเป้าหมาย (Goal Conflict)
    – ความขัดแย้งในเรื่องแนวคิด (Cognitive Conflict)
    – ความขัดแย้งในเรื่องความรู้สึก (Affective Con.)
    – ความขัดแย้งในเรื่องพฤติกรรม (Behavior Con.)
  • การบริหารความขัดแย้งในองค์กรมี 4 วิธี
    – การกระตุ้นความขัดแย้ง
    – การลดหรือระงับความขัดแย้ง
    – การยุติความขัดแย้ง
    – การป้องกันปัญหาความขัดแย้ง
เวลา 13:00 - 16:00 น.
  • การยุติความขัดแย้ง
    – วิธีการ ชนะ-แพ้ (Win-Lose Methods)
    – วิธีการ แพ้-แพ้ (Lose-Lose Methods)
    – วิธีการ ชนะ-ชนะ (Win-Win Methods)
  • วิธีการขจัดความขัดแย้งตามแนวอริยสัจ 4
    – ใช้หลักธรรม “พรหมวิหาร 4”
    – ใช้หลักธรรม “สังควัตถุ 4”
  • วิธีจัดการความขัดแย้งตามแนวคิดของเบลคกับมูตัน (Blake and Mouton)
  • อุปสรรคในการบริหารความขัดแย้ง
  • ทักษะที่จำเป็นในการบริหารความขัดแย้ง
    – การวิเคราะห์สถานการณ์
    – เทคนิคการเจรจาต่อรอง
    – การกระจายความเป็นธรรม
    – การใช้อำนาจ
  • ประโยชน์และโทษของความขัดแย้ง
  • หน้าที่ของหัวหน้างานในการแก้ไขข้อขัดแย้ง
ระยะเวลาการอบรม 1 วัน (เวลา 09:00-16:00)
รูปแบบการอบรม การบรรยาย กิจกรรม กรณีศึกษา แบบทดสอบเชิงพฤติกรรม และฝึกปฏิบัติ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม หัวหน้างานทุกระดับ / ผู้จัดการ / ผู้บริหาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรมหลักสูตรนี้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร โดยอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงประโยชน์และโทษของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร และสามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดในเรื่องความขัดแย้งว่าไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือเลวร้ายเสมอไป