หลักสูตร เทคนิคการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา (Effective Motivation Techniques)

ศิลปะการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” หัวหน้างานจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการเลือกใช้เครื่องมือเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชา หากสามารถตอบสนองได้ตรงกับความต้องการ ก็จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดขวัญและกำลังใจ สามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาดีขึ้

หัวข้อการอบรม

เวลา 09:00 - 12:00 น.
  • ความหมายและความสำคัญของการจูงใจ
  • ประเภทของการจูงใจ
    – การจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation)
    – การจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation)
  • ประเภทของการจูงใจให้พนักงานทำงาน
    – การจูงใจโดยใช้วิธีการเด็ดขาด (Absolute)
    – การดำเนินการอย่างละมุนละม่อม (Flexible)
    – การดำเนินการแบบต่อรอง (Negotiation)
    – การดำเนินการโดยการแข่งขัน (Competitive)
    – การดำเนินการแบบจูงใจตนเอง (Self)
  • รางวัลและสิ่งล่อใจในการทำงาน
    – รางวัลและสิ่งล่อใจที่เป็นตัวเงิน
    – รางวัลและสิ่งล่อใจที่ไม่เป็นตัวเงิน
  • การเสริมสร้างพลังจูงใจในการทำงาน
    – การเสริมสร้างพลังจูงใจในตัวบุคคล
    – การเสริมสร้างพลังจูงใจในองค์กร
    – การเสริมสร้างพลังจูงใจในชุมชน
เวลา 13:00 - 16:00 น.
  • วิธีการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพลังจูงใจ
    – การมองโลกในแง่ดี
    – วิธีการจัดการความเครียดและปัญหา
    – การเห็นคุณค่าในตนเอง
    – หยุดการผัดวันประกันพรุ่ง
  • การจัดการด้านอารมณ์ (Emotional Quotient)
    – องค์ประกอบของ EQ 3 ด้าน
    – ลักษณะนิสัย 10 ประการของผู้มี EQ สูง
    – การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
  • สัมพันธภาพระหว่างความพึงพอใจในงานและการจูงใจในงาน
    – ผลของความไม่พึงพอใจในงานที่ทำ
  • การจัดการกับความเหนื่อยหน่ายและความเครียดในการทำงาน
    – ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย
    – สาเหตุของการเหนื่อยหน่าย
    – ข้อเสนอแนะในการป้องกันความเหนื่อยหน่าย
ระยะเวลาการอบรม 1 วัน (เวลา 09:00-16:00 น.)
รูปแบบการอบรม การบรรยาย กรณีศึกษา กิจกรรมกลุ่ม และฝึกปฏิบัติ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิศวกร / หัวหน้างานทุกระดับ / ผู้จัดการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรมหลักสูตรนี้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจและสามารถเลือกใช้เทคนิคการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม เช่น วิธีการบังคับ ขมขู่ การใช้ระเบียบ หรือการร่วมมือกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้ากับลูกน้อง ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบอย่างเต็มใจ ยอมเสียสละทำงานให้กับองค์กร และให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์กร