การให้คำปรึกษา (Counseling) นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานอย่างหนึ่ง การให้คำปรึกษา เป็นกระบวนการให้ความช่วยเหลือกับพนักงาน เพื่อให้ผู้มีปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน หรือการดำเนินชีวิต ใช้ความสามารถและคุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับเรื่องของตนเองได้ ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องเข้าใจ และยอมรับ ทั้งในเรื่องราวและความเป็นบุคคลของผู้รับคำปรึกษา พร้อมทั้งเชื่อมโยงประสบการณ์เหล่านั้น เพื่อสะท้อนให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเองให้ดีขึ้น ในการพัฒนาที่ปรึกษานั้น ที่ปรึกษาจำเป็นต้องยอมรับในความสามารถ ทัศนคติ ค่านิยม และแรงจูงใจ
หัวข้อการอบรม
เวลา 09:00 - 12:00 น. |
เวลา 13:00 - 16:00 น. |
ชีวิตกับการเปลี่ยนแปลง (Thinking, Acting, Feeling) 5 สิ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผลของความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) ความแตกต่างระหว่างการสอนงาน (Coaching) กับการให้คำปรึกษา (Counseling) ทฤษฎีการให้คำปรึกษา (Counseling Theories) - แนวความคิดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา - ความเข้าใจผิดในการให้คำปรึกษา - หลุมพรางของผู้ให้คำปรึกษาหัดใหม่ - พฤติกรรมในการให้คำปรึกษา กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ (Systematic Counseling) - ขั้นเตรียมที่ปรึกษา, การสัมภาษณ์, การสร้าง สัมพันธภาพ, สร้างความเข้าใจและการยอมรับ, การกำหนดแนวทางและขั้นตอนในการแก้ปัญหา |
เทคนิคในการให้คำปรึกษา คุณลักษณะของที่ปรึกษาที่ดี - สัมพันธภาพ (Relationship) - ความยืดหยุ่น (Flexibility) - การสื่อความหมาย (Communication) - การจูงใจ (Motivation) - การยอมรับนับถือ (Respect) - การสนับสนุน (Supporting) - การเน้นกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (Being Here) - การเรียนรู้ (Learning) การพิจารณาทางเลือก - ข้อควรคำนึงการพิจารณาทางเลือก การแก้ไขปัญหาพนักงานทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน - ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาการทำงาน - สาเหตุปัญหาการทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน การจูงใจให้พนักงานทำงาน - การปฏิบัติตน : เพื่อสร้างขวัญกำลังใจลูกน้อง |
ระยะเวลาการอบรม 1 วัน (เวลา 09:00-16:00 น.)
รูปแบบการอบรม การบรรยาย กรณีศึกษา กิจกรรมกลุ่ม และฝึกปฏิบัติการให้คำปรึกษา
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิศวกร / หัวหน้างานทุกระดับ / ผู้จัดการ / ผู้บริหาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรมหลักสูตรนี้
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเทคนิคการให้คำปรึกษากับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน โดยใช้กระบวนการในการให้คำปรึกษาอย่างถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร